Transaction Details
Tx Hash:
HRQtddfYBZYJCvkuCVzJ84
Status:
OnChain
Block:
Bundler:
0xF5d3B0bF5C6F4bEC970679Ee78caDbeA8bb72417
Timestamp:
Jan.30.2024 03:56:02 AM
Caller:
0xec7d62b0ffa17b610229bfb671b6e70398c18e05
Signature:
0x3c6bdaa62f99f938564da0841f071d0ba400730e7adbaa725c375f4215446ae12527ba0e205f7332d793e6fed05d648fc88a548b7995fa97e1f5760471fe9ddf1b
SepId:
1
Namespace:
case
Dataset:
Collection:
Action:
insertOne
Document:
{
  "a": "  บันทึกท้ายทะเบียนหย่านั้น ตามกฎหมายถือเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกลงยกให้บุตรซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ไม่ใช่เป็นสัญญาให้ แม้ทรัพย์ที่ยกให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ ว ซึ่งศาลฎีกาเคยพิพากษาไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15123/2555\n\n          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15123/2555\n\n          บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า มีข้อความระบุว่า ล. และ ก. ตกลงยกบ้านเลขที่ 2/12 ซึ่งเป็นทาวน์เฮาส์ชั้นเดียว 2 ห้องนอน ให้แก่บุตรทั้งสองคนคือ โจทก์และ ก. ซึ่งขณะนั้นยังเป็นผู้เยาว์ บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าดังกล่าว นอกจากมี ล. และ ก. เป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้ว ยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่าง ล. และ ก. คือ แทนที่ ล. และ ก. จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาด้วยกันเอง กลับยอมให้บ้านเลขที่ 2/12 ตกเป็นของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง หลังจาก ล. และ ก. จดทะเบียนหย่ากัน สัญญาจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ย่อมผูกพัน ล. ให้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง ล. ไม่มีสิทธิจะนำทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมของ ก.\n\n          จึงสรุปได้ว่า สัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 525"
}